แนวทางการดำเนินการจัดทำเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity : CI)

แนวทางการดำเนินการจัดทำเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity : CI)

แนวทางการดำเนินการจัดทำเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity : CI) Certificate of Identity : CI)
ณ ศูนย์บริหารจัดการการทำงานของแรงงานเมียนมาแบบเบ็ดเสร็จตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3ตุลาคม 2566
ที่มา  https://www.doe.go.th/prd/alien/news/param/site/152/cat/7/sub/0/pull/detail/view/detail/object_id/79133

รมว.แรงงาน “พิพัฒน์” ประชุมบอร์ด ป.ป.ส. บูรณาการทุกภาคส่วนแก้ปัญหายาเสพติดในกลุ่มแรงงาน

รมว.แรงงาน “พิพัฒน์” ประชุมบอร์ด ป.ป.ส. บูรณาการทุกภาคส่วนแก้ปัญหายาเสพติดในกลุ่มแรงงาน

รมว.แรงงาน “พิพัฒน์” ประชุมบอร์ด ป.ป.ส. บูรณาการทุกภาคส่วนแก้ปัญหายาเสพติดในกลุ่มแรงงาน

วันที่ 22 ธันวาคม 2566 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ร่วมประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (คณะกรรมการ ป.ป.ส.) ครั้งที่ 4/2566 โดยมี นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม คณะกรรมการ ป.ป.ส.  เรือเอก สาโรจน์ คมคาย ที่ปรึกษากฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน   และ  หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมคณะรัฐมนตรี ชั้น 2 สำนักเลขาธิการรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า  การประชุมในวันนี้ เป็นไปตามนโยบายของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ที่ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหายาเสพติด และตั้งเป้าหมายว่าจะลดปัญหายาเสพติดให้ได้อย่างมีนัยยะภายในระยะเวลา 1 ปี โดยในส่วนของกระทรวงแรงงาน ได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนภารกิจดังกล่าว  ภายใต้การดำเนินโครงการ 3 โครงการ คือ 1. โครงการส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มแรงงาน ของสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน ได้แก่ โครงการอาสาสมัครแรงงานต้านภัยยาเสพติด (สตป.) โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานประกอบการ (TO BE NUMBER ONE) และสนับสนุนให้กรมสุขภาพจิตในงาน TO BE NUMBER ONE  2.โครงการสร้างภูมิคุ้มกันให้แรงงานห่างไกลยาเสพติด ของกรมการจัดหางาน ซึ่งมีเป้าหมายดำเนินโครงการครั้งแรกในปี งบประมาณ 2567 จำนวน 662,500 คน และ 3. โครงการส่งเสริมระบบการจัดการด้านยาเสพติดในสถานประกอบการ ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้แก่ โครงการส่งเสริมระบบการจัดการด้านยาเสพติดในสถานประกอบการ (มยส./โรงงานสีขาว) ซึ่งในปี 2566 ที่ผ่านมา เราได้ทำให้แรงงานมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด จำนวน 759,692 คน  มยส.จำนวน 773 แห่ง  โรงงานสีขาว จำนวน 1,361 แห่ง และโครงการส่งเสริมการจัดการป้องกันและป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มแรงงานนอกระบบ

นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานและกระทรวงศึกษาธิการ ยังได้เร่งจัดศูนย์ฝึกอาชีพ พัฒนาบุคลากร เพื่อให้ความรู้เรื่องยาเสพติด ไม่ให้ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนยุ่งเกี่ยวกับวงจรยาเสพติดด้วย

 นายพิพัฒน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า   รัฐบาล และกระทรวงแรงงาน ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นอย่างมาก เนื่องจากเชื่อมโยงผลกระทบถึงพี่น้องแรงงานไทยทุกคน ซึ่งหากสามารถแก้ไขปัญหาได้ เราจะสามารถลดความเดือดร้อนของประชาชนได้อย่างมาก

“พิพัฒน์” รมว.แรงงาน จับมือ สธ. ดัน MOU ประกันสังคม ร่วม สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ยกระดับบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ให้ผู้ประกันตน ในปี 67

“พิพัฒน์” รมว.แรงงาน จับมือ สธ. ดัน MOU ประกันสังคม ร่วม สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ยกระดับบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ให้ผู้ประกันตน ในปี 67


วันที่ 20 ธันวาคม 2566 เวลา 10.00 น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และนายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้มอบหมายรองศาสตราจารย์นายแพทย์เชิดชัย ตันติศิรินทร์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข ร่วมเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือการดำเนินงาน และการบริหารจัดการในการบูรณาการจัดระบบบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ระหว่างสำนักงานประกันสังคมและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยมี นายสิรภพ ดวงสอดศรี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายภูมิพัฒน์ เหมือนจันทร์ โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง ) นายวรรณรัตน์ ศรีสุขใส รองปลัดกระทรวงแรงงาน ร่วมเป็นเกียรติในพิธีลงนาม นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงกับนายแพทย์จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน ผู้บริหารสำนักงานประกันสังคม ผู้บริหารสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พร้อมผู้แทนสถานพยาบาล เข้าร่วมพิธี ณ ห้องประชุมกระทรวงแรงงาน ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน ถนนมิตรไมตรี เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคม และกระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีภารกิจหน้าที่ต้องขับเคลื่อนการสร้างหลักประกันด้านสุขภาพให้กับคนไทย “เน้นการป้องกันดีกว่าการรักษา เพื่อคุณภาพชีวิตที่ยืนยาว” โดยในปี 2566 สำนักงานประกันสังคมได้ดำเนินการผลักดันการขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้แก่ผู้ประกันตน โครงการค้นหาความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดในพื้นที่เป้าหมายนำร่อง จำนวน 13 จังหวัด มีผู้ประกันตนเข้าร่วมโครงการ 277,654 คน และในส่วนของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ให้ความสำคัญกับวัยทำงานจึงได้กำหนดให้การส่งเสริมสุขภาพเป็นรายการบริการพื้นฐาน

นายพิพัฒน์ รมว.แรงงาน กล่าวต่อไปว่า ในวันนี้เป็นโอกาสอันดียิ่งที่สำนักงานประกันสังคมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้มาร่วมทำบันทึกความร่วมมือการดำเนินงานและบริหารจัดการบูรณาการจัดระบบส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม โดยความร่วมมือดังกล่าวเป็นการลดค่าใช้จ่ายในภาพรวมด้านการสาธารณสุขไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเพื่อให้ประชาชนชาวไทยทุกสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานด้วยกันทุกคน ที่สำคัญคือผู้ประกันตนจะได้รับประโยชน์เพิ่มเติมที่นอกเหนือจากรายการตรวจพื้นฐาน เช่น การทำงานของไต Cr การตรวจปัสสาวะ Ua เอ็กซเรย์ปอด ผ่านระบบบริหารจัดการมาตรฐานการรักษาหนึ่งเดียวที่เป็นเลิศ

ด้าน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า สำนักงานประกันสังคมมุ่งมั่นพัฒนาสิทธิประโยชน์ด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้ผู้ประกันตนมีสุขภาพที่ดี เน้นหลักการ “ป้องกันดีกว่ารักษา” สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ประกันตนในการเข้าถึงบริการรักษาที่มีมาตรฐานตลอดมา สำหรับการดำเนินงานในปี 2567 เป็นต้นไป สำนักงานประกันสังคมพร้อมบูรณาการร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ร่วมกันขับเคลื่อนภารกิจสำคัญในการจัดบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้กับประชาชนคนไทยทุกสิทธิ ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับบริการใน
สถานพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนเรื่องส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพและสำนักงานประกันกันคมทั่วประเทศ ซึ่งจะส่งผลทำให้วัยทำงานมีสุขภาพดี มีคุณภาพชีวิตที่ยืนยาวและลดภาวะแทรกซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเหลื่อมล้ำ โดยบูรณาการงานด้านบริการทางการแพทย์อย่างเหมาะสม เท่าเทียม มีคุณภาพ อันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

รมว.แรงงาน“พิพัฒน์”ประชุมคณะอนุกรรมการป้องกันการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน (อกบร.) ครั้งที่ 1/2566

รมว.แรงงาน“พิพัฒน์”ประชุมคณะอนุกรรมการป้องกันการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน (อกบร.) ครั้งที่ 1/2566


วันที่ 20 ธันวาคม 2566 เวลา 13.30 น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการป้องกันการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน (อกบร.) ครั้งที่ 1/2566 โดยมี นายวรรณรัตน์ ศรีสุขใส รองปลัดกระทรวงแรงงาน นางโสภา เกียรตินิรชา ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทน อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ณ ห้องประชุม ศ.นิคม จันทรวิทุร ชั้น 5 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน อาคารกระทรวงแรงงาน

สำหรับการประชุมในครั้งนี้ ที่ประชุมได้พิจารณา (ร่าง) คู่มือ “มาตรฐานการปฏิบัติงาน (SOP) การตรวจคัดกรองเบื้องต้นเพื่อหาข้อบ่งชี้/พฤติการณ์ ที่อาจเป็นผู้เสียหายจากการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ และการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน” ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 6/1 ฉบับปรับปรุง และการปรับปรุงองค์ประกอบคณะอนุกรรมการป้องกันการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน

ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ (ร่าง) คู่มือ “มาตรฐานการปฏิบัติงาน (SOP) และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 6/1 ฉบับปรับปรุง รวมถึงการปรับปรุงองค์ประกอบคณะอนุกรรมการป้องกันการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน

นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ยังได้หารือในที่ประชุมเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันหาแนวทางการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน เพื่อให้ประเทศไทยสถานะดีขึ้นจากเดิมที่อยู่ในระดับเทียร์ 2

ที่มา https://www.mol.go.th/news/

อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2567 ตามมติคณะกรรมการ

อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2567 ตามมติคณะกรรมการ

มติคณะกรรมการค่าจ้าง ยืนยันผลอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2567 ตามมติคณะกรรมการค่าจ้างเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2566 คือ ขึ้นสูงสุด 370 บาท ที่ภูเก็ต ต่ำสุดอยู่ที่ 330 บาท จ.นราธิวาส ปัตตานี ยะลา ส่วนกรุงเทพฯ และปริมณฑล อยู่ที่  363 บาท

วันที่ 20 ธันวาคม 2566    นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 เพื่อทบทวนการกำหนดอัตราค่าจ้าง ปี 2567 ว่า การประชุมคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 ในวันนี้ ได้นำข้อสังเกตของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานมาประกอบการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2567 แล้ว ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ยึดตามมติคณะกรรมการค่าจ้างเดิม เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2566 เนื่องจากสูตรการคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่คณะกรรมการค่าจ้างใช้ในการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2567 เป็นสูตรที่คณะกรรมการค่าจ้างได้มีมติเห็นชอบให้คณะอนุกรรมการฯจังหวัดทุกจังหวัดใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งเป็นการพิจารณาด้วยเหตุและผลบนข้อมูลเศรษฐกิจปัจจุบัน จึงเห็นควรให้ปรับอัตราค่าจ้างด้วยความเหมาะสมและความเป็นจริง และเป็นการพิจารณาอยู่บนพื้นฐานของความเสมอภาค เป็นธรรม และน่าเชื่อถือโดยให้ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในอัตราวันละ 2-16 บาท (เฉลี่ยร้อยละ 2.37) แบ่งเป็น 17 อัตรา โดยมีอัตราสูงสุดในจังหวัดภูเก็ต คือวันละ370 บาท และอัตราต่ำสุดในจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา คือวันละ 330 บาท

“สำหรับข้อสังเกตของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานนั้น คณะกรรมการค่าจ้างจะนำไปใช้ประกอบการพิจารณาปรับปรุงสูตรในการกำหนดอัตราค่าจ้างใหม่ ซึ่งเป็นการปรับสูตรในรอบ 6 ปี ซึ่งวันที่  17 มกราคม 2567  จะลงนามแต่งตั้งอนุกรรมการปรับสูตรคำนวณค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ ส่วนการปรับค่าจ้างครั้งที่ 2 นั้นจะเป็นช่วงใด จะต้องดูตามเวลาดำเนินงาน พร้อมกับดูว่าจะมีไตรภาคีเสนอเรื่องนี้มาหรือไม่ และเมื่อได้สูตรใหม่แล้วจะเรียกประชุมบอร์ดค่าจ้างใหม่อีกครั้ง แต่ตอนนี้ใช้ตามมติเดิมไปก่อน  อย่างไรก็ตาม  ผมจะพยายามทำเต็มที่ และโดยเร็วที่สุด โดยคิดว่าในช่วงปี 2567 จะได้สูตรการคิดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่  ซึ่งเราจะพิจารณาในประเภทกิจการเป็นสำคัญ เช่น การท่องเที่ยว บริการ ซึ่งอาจเป็นประเด็นหนึ่งที่ใช้ในการพิจารณาปรับสูตร  โดยจะรีบนำเข้าครม.ในอาทิตย์หน้า เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบโดยเร็วที่สุด   และให้มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม  2567  เป็นต้นไป ” นายไพโรจน์ ฯ  กล่าว

นายไพโรจน์ กล่าวต่อว่า ในการพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2567 ที่ประชุมได้พิจารณากำหนดบนพื้นฐานของความเสมอภาคและการหารือของแต่ละจังหวัด และการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในครั้งนี้เป็นการปรับเพื่อให้แรงงานทั่วไปแรกเข้าทำงาน สามารถดำรงชีพอยู่ได้ตามสมควรแก่มาตรฐานการครองชีพ สภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน รวมทั้งเหมาะสมตามความสามารถของธุรกิจในท้องถิ่นนั้น  โดยพิจารณาบนพื้นฐานของความเสมอภาค และรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย เพื่อให้นายจ้าง/ลูกจ้าง สามารถประกอบธุรกิจและดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข

ที่มา https://www.mol.go.th/news/

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า